วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 6 : สรุป

สรุปวิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร

  • กฎบัตรอาเซียนมีขึ้นมานั้น ได้เกิดเพราะรัฐบาลประเทศสมาชิกมีนโยบายและความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะให้มีกฎบัตรอาเซียน 
  • แต่เกิดจากประเทศสมาชิกอาเซียนไม่อาจทนต่อแรงกดดันที่ถาโถมมาจากมิติด้านต่างๆ ของพลังโลกาภิวัตน์ได้  
  • ทำให้อาเซียนต้องคิดอยู่รอดด้วยการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างที่ล้าหลังของอาเซียน และจัดทำกฎบัตรอาเซียนขึ้นมา  เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบความคิดและนโยบายชี้นำทางให้กับการดำเนินการของอาเซียน เพื่อไปสู่ความเป็นประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรมอย่างแท้จริงและอย่างเป็นรูปธรรม 
  • โดยยึดความปรารถนาและความหวังของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นศูนย์กลาง   เพื่อความผาสุกอยู่ดีกินดีและความก้าวหน้าของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
  • การจะทำให้ประชาคมทั้ง 3 ด้าน เข้มแข็งนั้น มิได้อยู่ที่การทำงานของรัฐบาลของประเทศสมาชิกในอาเซียน หากแต่อยู่ที่การเมืองภาคประชาชนที่มีความเข้มแข็งเคลื่อนไหวร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อติดตามตรวจสอบและกดดันรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญเพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและความยุติธรรม ล้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจใฝ่หาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 
  • โดยปกติแล้วรัฐบาลของทุกประเทศในโลกจะไม่ให้ความสนใจหรือความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ยกเว้นเมื่อถูกประชาชนกดดัน บีบบังคับให้เข้ามาดูแลจึงจะยอมทำตามความประสงค์ของฝ่ายประชาชน  การทำงานของอาเซียนก็เช่นกัน
  • การที่เรามีกฎบัตรอาเซียนที่ยังคงมีข้อบกพร่องอยู่นั้น ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญก้าวหนึ่งในหนทางการดำเนินงานอาเซียน
  • การจะบรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียนทั้ง 3 ด้านนั้น ก็ดูจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากความแตกต่างของประเทศสมาชิกในหลายๆ ด้าน  ซึ่งทำให้องค์การอาเซียนยากที่จะรวมตัวกันได้อย่างแน่นแฟ้น และยากต่อการร่วมกันสร้างอาเซียนให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์สวยหรูที่ตตนตั้งไว้ได้


วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 5 : ปัญหากฎบัตรอาเซียน

ปัญหากฎบัตรอาเซียน แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักตามเสา 3 เสาของอาเซียน คือ

  • การเมืองและความมั่นคง
  • เศรษฐกิจ
  • สังคมและวัฒนธรรม

เสาที่ 1 การเมืองและความมั่นคง



1. ความแตกต่างกันทางการเมืองและการปกครอง 

การสร้างประชาคมความมั่นคงอาเซียนก็จะช่วยยกระดับความร่วมมือในการส่งเสริมประชาธิปไตยของแต่ละประเทศอันมีผลต่อความสงบเรียบร้อยทางการเมืองในภูมิภาคด้วย แต่การปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียนมีหลากหลายรูปแบบ ทำให้สมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด สมาชิกบางประเทศยังมีปัญหาด้านความเป็นประชาธิปไตยและยังปกครองในรูปแบบเผด็จการและต้องการรักษาอำนาจของตนไว้  ทำให้อาเซียนพัฒนาได้อย่างยากลำบาก

2. ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาเซียน 

ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนยังมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศอยู่ 
ปัญหาพรมแดนระหว่างประเทศไทย – กัมพูชา 
ปัญหาพรมแดนระหว่าง มาเลเซีย - ฟิลิปปินส์ – อินโดนีเซีย

เสาที่ 2 ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ


จุดประสงค์ของกฎบัตรอาเซียนต่อเสาด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ



  • อาเซียนจะมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาค 
  • โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น 
  • ดำเนินกิจกรรมของอาเซียนโดยการขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทางเศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้า  สินค้า บริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรคของกฎบัตรต่อเสาด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ



1.ประเทศสมาชิกอาเซียนมีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน  

  • สินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน จนเกิดการแย่งตลาดกันเอง 
  • สินค้าส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูป ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ 
  • นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามาก 
  • การแก้ไข คือ ต้องมีการแบ่งการผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันได้ แต่ถ้าต่างคนต่างผลิตโดยไม่มีการกำหนดมาตราฐานร่วมกันในการวางแผนการผลิตก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการรวมกลุ่ม

2. สินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มอาเซียนนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน 

แต่ละประเทศต่างมุ่งจะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามแบบอย่างตะวันตก จึงต้องมีการจัดซื้อเทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งๆที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พอจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ก็คือสิงคโปร์ แต่ประเทศสมาชิกก็เกี่ยงว่ายังไม่มีคุณภาพ 
ทำให้การค้าขายระหว่างกันในกลุ่มอาเซียนทำได้ยาก 
วิธีการแก้ไข คือ จะต้องมีการแบ่งงานกันทำและยอมรับสินค้าประเทศในภูมิภาคเดียวกัน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนให้ดีขึ้น

3. ประเทศในอาเซียนพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า 
  • แต่ละประเทศพยายามส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศตน โดยการใช้กำแพงภาษีหรือกำหนดโควต้า 
  • ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มและตลาดการค้าเสรี ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกมารวมกลุ่มกันต้องยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรี (Free Trade) 
  • ดังนั้นข้อตกลงใน AFTA ของอาเซียนหลายข้อจึงยังไม่ได้รับการปฏิบัติ

4. ประเทศสมาชิกยังคงปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติของตนเป็นหลัก 
  • การหารายได้เข้าของรัฐประเทศในอาเซียนมีลักษณะเหมือนกัน คือ รายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากรสินค้าขาเข้าและขาออก 
  • ซึ่งการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ยกเลิกการเก็บภาษีระหว่างกันหรือเก็บภาษีให้น้อยลง 
  • แต่ประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ในส่วนนี้ได้ เนื่องจากเป็นเงินที่ต้องนำมาพัฒนาประเทศ 
  • การรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการค้าเสรีจึงยังทำได้ยาก



เสาที่ 3 ด้านสังคมและวัฒนธรรม



จุดประสงค์ของกฎบัตรต่อเสาด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความร่วมมือเฉพาะด้าน 


  • ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ 
  • เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค 
  • พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น 
  • รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 
  • ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ
  • ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก

ปัญหาและอุปสรรคของกฎบัตรต่อเสาด้านสังคมและวัฒนธรรม


1. ความแตกต่างด้านเชื่อชาติ ศาสนา 
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา โดยสามารถแบ่งกลุ่มประเทศตามศาสนาที่ประชากรส่วนใหญ่ ของประเทศนับถือได้ ดังนี้
- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ บูรไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คือ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม สิงคโปร์ และประเทศไทย
- ส่วนในฟิลิปปินส์ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์

2. ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมาก 

มีความแตกต่างทางความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม 
อุปสรรคต่อการหลอมรวมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว


3. ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์

 ซึ่งเป็นปัญหาละเอียดอ่อน และต้องใช้การประนีประนอมในการแก้ไขปัญหา


วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 4 : กฎบัตรอาเซียน ASEAN CHARTER


  • เป็น “ธรรมนูญ” ของอาเซียน



  • ทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นเอกภาพ มีกรอบความคิด และการดำเนินการร่วมกันในด้านต่างๆ ที่ชัดเจน

- ประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง
- ประชาคมด้านเศรษฐกิจ
- ประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม


อุปสรรคและปัญหาสำคัญของกฎบัตรอาเซียน

1) กฎบัตรอาเซียนไม่มีผลบังคับให้ประเทศสมาชิกให้ต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก


2) ความแตกต่างในเรื่องของระบบการเมืองการปกครองในประเทศสมาชิก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างมากต่อการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง 

3) การยึดหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาเวสฟาเลีย ว่าด้วยการห้ามเข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ 
แต่อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์และเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน  สหประชาชาติจำต้องเข้าแทรกแซงในประเทศสมาชิกที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) การกำจัดชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) รวมทั้งการที่รัฐมีนโยบายและการดำเนินการเพื่อกำจัดประชาชนด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นต้น 
นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากมุมหนึ่งของโลก แต่ส่งผลกระทบร้ายแรงและอย่างรวดเร็วต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางเช่นกัน

4)กฎบัตรอาเซียนไม่มีมาตราใดว่าด้วยการระงับ การขับไล่ และการถอดถอนประเทศสมาชิกที่มีพฤติกรรมและการดำเนินการที่จะมีผลทำให้อาเซียนได้รับความเสื่อมเสียในด้านภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือ (ดังเช่นกรณีประเทศพม่า ซึ่งได้มีพฤติกรรมและการดำเนินการต่างๆ ที่ได้นำความเสื่อมเสียมาสู่อาเซียน)
       
5)อาเซียนยังไม่มีองค์กรดูแลด้านการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ของประชาชาติอาเซียนอย่างแน่นอน แม้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะระบุข้อความว่าอาเซียนมีความปรารถนาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเกิดขึ้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาแน่ชัดแต่อย่างใด


6) การตัดสินใจด้านนโยบายในเบื้องต้นของอาเซียนยังคงพึ่งหลักฉันทามติ 
ซึ่งหมายความว่าหากหนึ่งในสิบประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยก็เท่ากับไม่เกิดฉันทามติ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการตามที่สมาชิกเสียงข้างมากประสงค์ได้
ดังนั้น ตราบใดที่อาเซียนยังไม่ยอมนำระบบการลงคะแนนออกเสียงโดยยึดเสียงข้างมากเป็นปัจจัยชี้ขาดก็ยากที่อาเซียนจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและทันต่อเหตุการณ์

วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 3 :ความล้มเหลวของวิถีอาเซียน (The Asean way)

ความล้มเหลวของวิถีอาเซียน

1.ดำเนินงานในลักษณะที่ไม่เป็นทางการสูง (Informality) 
การดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมดของอาเซียนล้วนเป็นไปอย่าง “ไม่เป็นทางการ” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ประเทศสมาชิกอาจจะปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงใดๆ ที่ทำไว้กับสมาคมอาเซียนก็ได้ 
เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมายมาบังคับและสมาคมอาเซียนก็ไม่มีอำนาจหรือกลไกอะไรไปบังคับประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามได้

 2. ใช้การทูตในลักษณะปิดเงียบ
โดยการดำเนินงานผ่านเส้นสายของนักการเมืองและนักการทูตระดับสูงเป็นหลัก จึงทำให้เกิดข้อกังขาว่าการแก้ปัญหาอาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้รับฟังเสียงจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับความขัดแย้งในระดับรากหญ้า  นอกจากจะเป็นไปในระดับผู้นำโดยไม่มีตัวแทนจากภาคประชาชนแล้ว ยังไม่แม้แต่จะเปิดเผยต่อรายละเอียดของการพูดคุยต่อสาธารณชนอีกด้วย


3. ยึดการพูดจาหารือและหลักฉันทามติเป็นหลักสำคัญ 
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวนการรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า และทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ของอาเซียนจะล้มเหลว ไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกได้ หากประเทศสมาชิกใดประเทศหนึ่งไม่ยินยอม 

4. การยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในหลักการเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิก และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน
หลักการนี้ทำให้สมาชิกอาเซียนมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เนื่องจากผู้นำทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของตน รวมทั้งแนวคิดที่ว่าปัญหาภายในประเทศไม่สามารถแก้ไขโดยมาตรการลงโทษจากภายนอกได้ แต่ต้องได้รับการจัดการบริหารโดยปัจจัยภายในประเทศเอง
ซึ่งประเทศภายนอกภูมิภาคไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะเหตุการณ์ในพม่า ซึ่งนี่ทำให้ภาพลักษณ์ความน่า เชื่อถือของอาเซียนต่อองค์การโลกค่อนข้างล้มเหลว



จากความล้มเหลวของวิถีอาเซียนจึงเกิดกฎบัตรอาเซียนจึงถูกบัญญัติขึ้น


  • ทำให้ผู้นำอาเซียนเกิดการทบทวนวิธีการดำเนินงานและกรอบความร่วมมือต่างๆ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น และดำเนินการสร้างประชาคมเพื่อกอบกู้ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของอาเซียนกลับมา 

  • จากผลพวงของความพยายามในการปฏิรูปอาเซียนหลังวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 เนื่องจากวิถีอาเซียน ไม่สามารถหล่อหลอมให้ประเทศต่างๆมาร่วมมือเพื่อรับมือและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างแท้จริง  อันนำมาสู่ภาพลักษณ์ที่ล้มเหลวขององค์การ

วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 2 : วิถีอาเซียน The Asean way


  • เป็นความสำเร็จของความร่วมมือระดับหนึ่งของอาเซียนในช่วง 30 ปีแรก 


  • วิถีอาเซียน คือ บรรทัดฐาน ที่ประเทศสมาชิกเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความร่วมมือที่มีแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาติสมาชิกอาเซียน เพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค

ลักษณะสำคัญ 6 ประการของ The asean way



1.  ไม่แทรกแซงกิจการภายใน (Non-interference)
หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน คือ ลักษณะเด่นชัดที่สุดที่ปรากฏอยู่ในวิถีอาเซียน 
เราต้องเคารพความสำคัญของมิตรภาพและความร่วมมือ ยึดหลักหลักการแห่งอธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกัน ฉันทามติและเอกภาพใน ความหลากหลาย’ ชาติสมาชิกอาเซียนจะต้องเคารพอธิปไตยระหว่างกัน แม้ระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจแตกต่างกัน ก็จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง

2. การผูกพัน “อย่างหลวมๆ”
อาเซียนแตกต่างจากสหภาพยุโรปมาก สหภาพยุโรปควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพกับสมาชิกและข้อตกลงร่วมมือต่างๆ ด้วยอำนาจกฎหมาย ส่วนอาเซียนร่วมมือกันด้วยกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ปราศจากข้อกฎบังคับทางกฎหมาย
            การรวมตัวแบบหลวมๆ มาจากการที่อาเซียนไม่ได้ต้องการเป็นองค์กรเหนือรัฐโดยสมบูรณ์ โดยเฉพาะประเด็นด้านความมั่นคงทางการเมือง และด้านการทหาร   
อาเซียนจะรวมตัวอย่างแน่นแฟ้นในกรณีที่มีผลประโยชน์ร่วมของทุกชาติสมาชิก


3. การแทรกแซงอีกรูปแบบหนึ่ง – แบบอาเซียน
วิถีอาเซียนจะไม่แทรกแซงกิจการภายในแต่บางครั้งอาจมีการแทรกแซงระหว่างกันด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่น พยายามควบคุมทางการเมืองระหว่างประเทศ กดดันภายใน เจรจาต่อรอง การพูดคุยและการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางทั้งทางตรงทางลับ
            การแทรกแซงของอาเซียนจะกระทำโดยพยายามไม่โดดเดี่ยวหรือทำให้ชาติสมาชิกอับอายขายหน้า เช่นเดียวกับที่ประเทศที่ถูกแทรกแซงจะไม่ทำให้อาเซียนขายหน้าต่อสาธารณะเช่นกัน


4. ชาติสมาชิกรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตนสูงสุด
            เป็นธรรมดาที่ทุกประเทศต้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติของตน และแม้ชาติสมาชิกพยายามประนีประนอม หาทางออกที่ลงตัวมากสุด พยายามรักษาบรรยากาศอันดีต่อกัน แต่บางครั้งความขัดแย้งแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของอาเซียน 
กรณีตัวอย่าง เช่น การประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) ในปี 2012 ฟิลิปปินส์เรียกร้องให้แถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมมีข้อความพูดเรื่องพฤติกรรมอ้างสิทธิ์ของจีนเหนือหมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ แต่ประเทศสมาชิกบางส่วนไม่เห็นด้วย เกิดความขัดแย้งในที่ประชุม กลายเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปี นับแต่ก่อตั้งที่อาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์เมื่อจบการประชุมได้


5. การตัดสินใจของชาติสมาชิกไม่ขึ้นกับหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
กระบวนการเจรจาของอาเซียน “ปราศจากโครงสร้าง ไม่มีขั้นตอนนำสู่การตัดสินใจ เรื่องที่ต้องปฏิบัติตามผลการประชุม” และ “มักไม่มีวาระอย่างเป็นทางการ ประเด็นที่พูดคุยเจรจามักเป็นประเด็นที่อยู่ดีๆ ก็นำขึ้นมาพูดในที่ประชุม” ซึ่งสะท้อนว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมมีความยืดหยุ่นสูง   
อาเซียนมักใช้ “หลักการเจรจาระหว่างผู้มีอำนาจที่กระทำอย่างเป็นส่วนตัวและเงียบเชียบ ลบล้างรอยด่างที่ปรากฏสู่สาธารณะ หลักการไม่ระบุตำแหน่งสถานที่ (being non-Cartesian) และไม่ยึดหลักกฎหมายกฎเกณฑ์” หลักการเหล่านี้มุ่งต้องการผลลัพธ์สุดท้ายโดยไม่สนใจวิธีการ และจะพยายามไม่ระบุ เป้าหมายที่ชัดเจน บางครั้งอาจไม่ยึดกฎบัตรหรือหลักการใดๆ


 6. พยายามหาทางออกด้วยสันติวิธี ไม่เผชิญหน้า
วิถีอาเซียนจะประกอบด้วยหลักแสวงหาข้อตกลงร่วม หลักความสมานฉันท์ หลักอ่อนไหวต่อความรู้สึกของอีกฝ่าย
ใช้ความสุภาพ ไม่เผชิญหน้าและแสวงหาความร่วมมือที่เป็นไปได้และมักจะเก็บกวาดเรื่อง (ไม่ดี) ต่างๆ เก็บไว้ใต้พรม 
ข้อตกลงต่างๆ ต้องผ่านฉันทามติ ชาติสมาชิกทุกประเทศแสดงตัวในทางดี ทำให้อาเซียนดูดี รับแขกได้ตลอดเวลา และไม่ทำอะไรที่จะกลายเป็นข่าว(ในแง่ร้าย)  อาเซียนจะเลือกใช้หลักสันติวิธีเป็นหนึ่งในหลัก สำคัญที่อาเซียนยึดถือมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง


สรุปวิถีอาเซียน


มีผลช่วยให้อาเซียนสามารถเติบโตอย่างมั่นคง ตลอดจนสามารถพยุงรักษาเอกภาพ ความสมานฉันท์ และความก้าวหน้าของการเป็นองค์การเพื่อความร่วมมือส่วนภูมิภาคได้ด้วยดี เป็นกรอบความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในการดึงเอาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความขัดแย้งกัน เข้ามาร่วมก่อตั้งองค์การอาเซียนอย่างเป็นผลสำเร็จ

แต่อย่างไรก็ตาม ช่องโหว่ความอ่อนแอของวิถีอาเซียนก็ปรากฏออกมา  ซึ่งถือว่าเป็นข้อด้อยที่ทำให้อาเซียนถูกมองว่าเป็นองค์การที่ล้าหลังและไม่มีความสำคัญอีกต่อไป



วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 1

         ปี 1967 ลงนามปฏิญญากรุงเทพ
         ปี 1967 ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ อิสรภาพ และการวางตัวเป็นกลาง (ZOPFAN)

•เป็นช่วงที่อาเซียนเริ่มทำการก่อตั้งและเลือกที่จะลงนามปฏิญญากรุงเทพ แทนที่จะเลือกใช้กฎบัตร
•เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์ อาเซียนจึงมีการรับมือกับปัญหาในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อแสดงออกถึงความเป็นกลางขององค์กร
•ในช่วงระยะเวลาแรกอาเซียนต้องการเน้นความร่วมมือใน 3 มิติ คือ การสร้างความไว้ใจ การสร้างความเข้าใจในปัญหาของสมาชิก และการปลูกฝังนิสัยของการหารือและการปรึกษา




ปี 1976 สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC)
ปี 1984 บรูไนเข้าร่วมอาเซียน

•สร้างความร่วมมือของประเทศสมาชิกในการแก้ไขปัญหา โดยการร่วมลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation – TAC) ที่ก่อให้เกิดวิถีอาเซียนขึ้นมา
•เน้นด้านการให้ความร่วมมือด้านความมั่นคง ในการจัดการปัญหากัมพูชา ผู้อพยพ โดยไม่แทรกแซงการเมืองภายในของประเทศสมาชิก สร้างภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงเพราะอยู่ในช่วงของการสร้างชาติ

ปี 1992 เขตการค้าเสรี (AFTA) และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยทะเลจีนใต้
ปี 1995 เวียดนามเข้าร่วมอาเซียน และลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 1997 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บังคับใช้ ลาวและพม่าเข้าร่วมอาเซียน


•เป็นช่วงแห่งการปฏิรูปโครงสร้างครั้งใหญ่ เนื่องจากผ่านยุคสงครามเย็น ทำให้ประเทศต่างๆมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
•เน้นการค้า จัดตั้งเขตการค้าเสรี การลงทุนเสรี เป็นยุคแห่งการขยายตัวและเปิดรับสมาชิกใหม่


ปี 1992 เขตการค้าเสรี (AFTA) และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยทะเลจีนใต้
ปี 1995 เวียดนามเข้าร่วมอาเซียน และลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปี 1997 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บังคับใช้ ลาวและพม่าเข้าร่วมอาเซียน


•เป็นช่วงแห่งการปฏิรูปโครงสร้างครั้งใหญ่ เนื่องจากผ่านยุคสงครามเย็น ทำให้ประเทศต่างๆมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

•เน้นการค้า จัดตั้งเขตการค้าเสรี การลงทุนเสรี เป็นยุคแห่งการขยายตัวและเปิดรับสมาชิกใหม่


ปี 1997 เกิดพิษเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง,รวมผู้นำอาเซียนรับรองเอกสาร วิสัยทัศน์อาเซียน 2020
ปี 1999 กัมพูชาเข้าร่วมอาเซียน
ปี 2003 เกิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ Bali Concord II
ปี 2005 เกิด กฏบัตรอาเซียน ASEAN Charter


เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จากพิษต้มยำกุ้ง ทำให้มองเห็นว่าอาเซียนเป็นองค์การที่ล้าสมัยและไม่มีความสำคัญ เป็นความล้มเหลวที่มาจากวิถีอาเซียน 
ทบทวนการดำเนินงานและกรอบความร่วมมือต่างๆ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและพยายามกอบกู้ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ของอาเซียนกลับมา 
ผลักดันให้มีการสร้างกฎบัตรอาเซียนขึ้นมา โดยมีการลงนามกฎบัตรอาเซียนในเดือน กรกฎาคม 2007


รวมรวบ คำแนะนำในการเริ่มเรียนภาษาจีน

Jongkol Zear Gestrix ส่วนตัวคิดว่าเวลาเรียนภาษาไหนให้คล่อง ต้องมีexposureของภาษานั้นเยอะๆค่ะ เรียนแล้วใช้ อ่าน เขียน ฟัง พูดเยอะๆ พอถึงจุดๆหนึ่งก็จะคล่่อง สามารถคิดเป็นภาษานั้นได้เลย ใช้ได้โดยไม่ต้องคอยแปลเป็นภาษาไทยในสมองทุกครั้งเวลาสื่อสาร แค่กวาดสายตาก็ได้เนื้อหาเข้าสมองไม่ต้องอ่านทีละตัวค่ะ

ตามวิธีที่เราใช้คือ เรียนภาษาไปพร้อมๆกับหาอะไรเกี่ยวกับภาษาที่ชอบมาเสพเยอะๆค่ะ เช่นฟังเพลงเยอะๆ อ่านการ์ตูน(ภาษานั้น)เยอะๆ เปิดหาคลิปในยูทูบดู หาคนใช้ภาษานั้นด้วย อย่าอายเวลาพูดหรือเขียนค่ะ ผิดเป็นครู หรือถ้าเป็นไปได้ก็หาเพื่อนหรือแฟนที่เก่งภาษานั้นเลยค่ะ

แล้วถ้ามีทุนเยอะ ก็ไปเรียนถึงถิ่นเลยค่ะ เป็นการเอาตัวเองลงไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของภาษานั้นๆ แค่อย่าเอาแต่เกาะติดกับกลุ่มเพื่อนคนไทย ออกไปข้างนอกก็คอยฟังคอยสังเกตว่าเค้าพูดเค้าเขียนอะไรยังไง ต้องเก่งขึ้นอย่างรวดเร็วแน่นอนค่ะ

สู้ๆนะคะ ถ้าชอบก็ไม่มีอะไรยากแน่นอนค่ะ!
----------------------------------------
英蓉 ถ้าฟังภาษาจีนจากยูทูป ฉันขอแนะนำ พิมพ์คำว่า ภาษาจีน อ.วิโรจน์ เพราะละเอียดสุดแล้ว
 แต่หนังสื่อต้องของ อ.เหยินจิงเหวินนะ แบบฝึกหัดทั้งมีสี่เล่ม มีของ ม.ต้นสองเล่ม คือ ระดับต้นหนึ่งและระดับสองพร้อมซีดี ส่วนของ ม.ปลาย ระดับกลางหนึ่งและระดับกลางสองพร้อมซีดี ถ้าอ่านพินอินได้นะ และต้องดูแต่ละร้านด้วยนะว่ามีซีดีไหม ต้องด้านหลังสุดของหนังสื่อ
----------------------------------------
Ployberian Pornsiri แนะนำว่าให้หาคอสเรียนแบบตัวต่อตัวค่ะ เพราะครูจะเน้นที่เราคนเดียว สามารถอัดและไปได้ไวแบบไม่ต้องคอยใคร ขยันๆ มากๆ บวกกับได้หัดพูดบ่อยๆ ฟังบ่อยๆ รับรองร้อยชั่วโมงนิดๆ ก็เริ่มสื่อสารพอเข้าใจแล้วค่ะ สู้ๆนะคะ ^^ 

อ่อ... การดูละครหรือ ฟังเพลง หรือ รายการทีวีบ่อยๆ ก็สำคัญนะคะ จะทำให้ทบทวนได้ดี รู้จักคำศัพท์มากขึ้น รวมไปถึงสามารถเข้าใจวิธีการใช้ศัพท์ หรือ การพูดในศัพท์บางคำที่มันอธิบายหรือทำความเข้าใจเป็นคำพูดยากด้วยค่ะ
----------------------------------------
ปั๊มภาษาจีน 加油站中文 
คืนวันศุกร์นี้ผมมีเคล็ดลับในการเรียนภาษาจีน 4 ข้อ มาฝากครับ!

ต้องขออกตัวก่อนว่าตั้งแต่เด็กผมก็เรียนภาษาจีนและไม่ชอบแม้แต่นิดเดียวเลยนะฮะ จนตอนไปเริ่มเรียนใหม่หมดที่โฉงชิ่งตอนปิดเทอมปีหนึ่งจนกระทั่งบัดนี้ผมทำให้กลายเป็นบล็อกเกอร์และครูสอนภาษาจีนได้ วันนี้ผมมีเคล็ดลับในการเรียนภาษาจีนของผมมาเล่าให้ฟังกันครับ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ทำให้ภาษาจีนของผมพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และผมคิดว่ามันมีประโยชน์ต่อทุกคนมาก ลองอ่านดูกันนะครับ

1. หมั่นหาโอกาสรอบๆตัวที่จะ "สัมผัส" ภาษาจีน
ถือเป็นสิ่งแรกที่เราต้องทำเลยครับ เราต้องหาแรงบันดาลใจ ที่มากกว่าการเรียนไปสอบเข้า เรียนไปสอบ HSK หรืออะไรทั้งปวง เช่น หาเพลงเพราะๆฟัง ดูภาพยนตร์หรือละครจีนบ้าง หรือแม้แต่การทบทวนสมุดโน๊ตก็สามารถช่วยได้ นอกจากนี้ยังอาจหา "บัดดี้ภาษา(语伴)" แลกกันฝึกฝนภาษาในกรณีที่คุณศึกษาอยู่ในที่ที่โอกาสอำนวย เช่น ศึกษาอยู่ประเทศจีน

ตอนผมเรียนอยู่ผมก็ทบทวนคำศัพท์ก่อนนอนทุกคืนครับ หลับไปเลยก็ไม่เป็นไร พอมีโอกาสไปเรียนที่ประเทศจีน ผมก็ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนชาวต่างชาติ เพื่อที่จะฝึกพูดให้ดีขึ้น และผมเองก็โชคดีที่เป็นคนพูดมาก ภาษาจีนก็พัฒนาไปมาก แม้ปัจจุบันผมไม่มีโอกาสเรียนเพิ่มเติมแล้ว แต่ผมก็จะอาศัยการเขียนบล็อค และการฟังเพลงจีน (ลองฟังวง Indy ไต้หวัน หรือดู The Voice of China กันก็ได้นะครับ แนะนำๆ) หรือดูหนังจีนก็ได้ครับ

2. อย่าถอดใจเร็วนัก!
พอคุณเรียนไปจนถึงระดับกลาง คุณจะค้นพบว่า ทั้งคำศัพท์และหลักภาษาจำนวนมาก จะพรั่งพรูเข้าสู่สมองในปริมาณมหาศาล รวมไปถึงโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนและสุภาษิตที่มีบริบทในการใช้ที่แตกต่างกันไป แต่นี่แหละครับ! นี่เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาของการเรียนภาษาจีน! ถ้าคุณเรียนมาถึงระดับนี้แปลว่า เห้ย เราพอได้เรื่องแล้วนะ หน้าที่ของคุณตอนนี้ก็คือ "ถึก!" ขยันต่อไป! จำต่อไป! ฝึกต่อไป! ทบทวนต่อไปอีก อย่าลืมนะครับ "ถ้าเราไม่ประสบกับความยากลำบาก แล้วเราจะรู้หรือว่าเรามีพลังมากเพียงไหน" อย่าถอดใจกับภาษาจีนให้มันง่ายจนเกินไปครับ มันไม่ได้ยากขนาดนั้น!

3. โน๊ตบุ้คเก๋ๆ
สมุดโน๊ตภาษาจีน สำหรับผมถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก เพราะผมใช้มันทบทวนตลอดเวลาที่เรียน คุณต้องทำให้มันดูดีและน่าอ่าน ผู้เรียนบางคนทั้งที่เป็นเพื่อนร่วมเรียน และน้องๆที่ผมสอน ชอบจดศัพท์ใหม่ๆลงไปตลอด มีหลายร้อยหลายพันตัวแล้วก็ยังพูดไม่ได้ ดังนั้นเวลาเราจะจดเนี่ย อย่าลืมจดตัวอย่างลงไปด้วยว่ามันใช้ยังไง แล้วก่อนจะจด ต้องรบกวนให้คัดจนอ่านออก เขียนได้ก่อน มันจะได้อยู่ในหัวเรานานๆหน่อย สำคัญที่สุดคือ ต้องหยิบมาทบทวนด้วยนะครับ ส่วนผู้ที่กำลังจะเรียนหรือเริ่มเรียนอยู่ ผมแนะนำให้จดพิงอินไว้ห่างๆตัวอักษรหน่อย เพื่อป้องกันการพึ่งพาพิงอินโดยไม่จำเป็นครับ มันจะช่วยให้คุณคุ้นเคยและจดจำตัวอักษรจีนได้ไวยิ่งขึ้น

4. การฝึกใช้ภาษาจีน
ดังที่กล่าวไว้ในข้อแรกครับ ข้อนี้จะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสภาษาจีนของคุณ วิธีง่ายๆที่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อก็คือ การฝึกอ่านบทสนาให้ติดปาก ข้อนี้เพิ่มพูนทักษะในการพูดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับผู้เรียนที่เพิ่งเริ่มเรียน แต่อย่าลืมที่จะอ่านออกเสียงนะครับ เพราะนอกจากจะได้ทวนอ่าน ทวนพูดแล้ว ยังได้ฟังไปด้วย ส่วนสำหรับผู้ที่เริ่มเก่งขึ้นมาหน่อยแล้ว ผมแนะนำให้ฝึกฝนเขียนบทความหรือฝึกแต่งประโยคยาวๆ (ห้ามขี้เกียจเด็ดขาดถ้าครูให้การบ้านประเภทนี้มา) ด้วยการแต่งประโยคที่ซับซ้อน มันจะทำให้คุณเรียบเรียงประโยคที่ยาวได้รวดเร็วขึ้่น จนสามารถพูดและใช้งานได้คล่องขึ้น แต่ก่อนเวลาผมว่างๆผมก็จะเอาบทความภาษาไทยที่ผมเคยเขียนมาแต่งเป็นภาษาจีน หรือฝึกแปลคำคมสนุกๆครับ

ทั้งหมดนี้ก็คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกทุกคน ผมหวังว่าเคล็ดลับง่ายๆเหล่านี้จะช่วยให้ทักษะภาษาจีนของทุกคนพัฒนายิ่งๆขึ้นไปนะครับ อย่าลืมนะครับว่า ภาษาจีนไม่ได้ยากอย่างที่คิด
----------------------------------------
Chai Pattarasurawong การศึกษาคำศัพท์ ให้มากๆ จะเป็นพื้นฐานที่ดีในการต่อยอดครับ
จากนั้นให้พยายามสนทนา หรือใช้บ่อยๆ จะช่วยในการประยุกต์ใช้ ได้อย่างเป็นธรรมชาติครับ
ความจริงแล้ว 4 เดือนก็เริ่มสื่อสารได้แล้ว
ผมก็ใช้เวลา 4 เดือนในการปูพื้นฐานให้ตัวเองแบบนี้ แล้วก็เริ่มสนทนาได้ครับ
ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะครับ
----------------------------------------
Bao Xing Lu ไปหาคนจีนคุย เช่น ตามมหาลัย เเลกเปลี่ยนกล้าๆ มั่นใจครับ ม. หัวเฉียว , สวนนันฯ, จันทรเกษม, นอร์ทกรุงเทพ ผมมีรุ่นน้องไปทั่ว ช่วยทำทัวร์บ้างตอนนี้  
----------------------------------------
Kiedtisak Yoonaiwong สำหรับผมเรียนภาษาจีนมา4-5ปีแล้ว เริ่มแรกคือการที่ผมรักภาษาจีนก่อน จากนั้นก็จะค่อยๆฝึกการอ่านพยัญชนะ สระ จากนั้นก็จะเป็นการฟัง การเขียน และการพูด ทบทวนคำศัพท์เยอะๆ จำให้แม่นๆ ที่สำคัญต้องสนุกกับมัน!!
---------------------------------------- 
สมบูรณ์ กรุ๊ป ถ้าหลานจะเริ่มเรียนจีน ต้องเข้าไป Yutube หาเพลงจีนสอนเด็ก...หัดฟังให้สนุกก่อน ฟังให้ทันก่อน...แล้ว.ก็กดไปที่เรียนภาษาจีนกลาง.ให้หัดพูดประโยคง่ายๆก่อน.แล้วดูว่าใจเราชอบไหม..ถ้าชอบก็มีแววเก่งได้..เพราะถ้าไปเรียนพินอินจะท้อและเบื่อกันเสียก่อน
----------------------------------------
Gong Narut ผมเรียนจากหนังสือหลายเล่ม กับแอพไอแพด แต่ห่างเหินไปหลายปีเพิ่งกลับมาทบทวนอยู่ครับ เรียนไปพร้อบกับญี่ปุ่นที่สถาบันสอน ส่วนจีนอ่านเองเพราะง่ายกว่าเยอะ ผมซื้อของ chineseclass101 ครับ ชุดละ $10 ซื้อชุด absolute beginner กับ beginner อยู่ใกล้จบล่ะ แต่ต้องอ่านกับฟังคนอธิบายเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ถ้าฟังอังกฤษแข็งก็เรียนได้ครับ แต่ถ้าไม่แข็งไม่แนะนำเดี๋ยวเสียดายเงิน  แนะให้คุณกระต่ายลองทดลองฟรีเจ็ดวันในเวบ chineseclass101.com ก่อนได้ครับ ช่วงฟรีเจ็ดวันจะแอบโหลด mp3 มาทั้งหมดก็ได้นะ แอบหัวหมอนิดนึง เวบนี้สอนหลายภาษามากครับทั้งญี่ปุ่นอังกฤษไทยหรือแม่แต่ภาษาซิมบับเว
----------------------------------------
Jair  Miketoe  ลองเข้าไปดู คลิป ที่ได้ รวบรวมไว้ ในอัลบั๊ม  "รวม You Tube เกี่ยวกับการสอนภาษาจีน"
ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
----------------------------------------
Sirin Sirananon เพิ่งเริ่มเรียน แนะนำเรื่องit started with a kiss ปัญญาอ่อนนิดๆ ศัพท์ไม่ยากค่ะ แล้วก้อที่เปนหนังแนะนำ那些年,我們一起追的女孩 น่ารัก ชอบบบ แต่เรื่องนี้หาดูยาก เพราะติดลิขสิทธิ์ แต่ทุกเรื่องสามารถหาดูง่ายๆได้ในเว็บจีนค่ะ แต่ถ้าอยากได้ซับไทย แนะนำเว็บ mthai ค่ะ มีเยอะ แต่เอาจริงแนะนำให้ซื้อแผ่นมาดูนะคะ จะได้ดูแบบไม่ขัดอารมณ์
----------------------------------------
Louis Tangpojtaweeporn ไปซัมเมอร์ หรือเทคคอร์สที่เมืองจีนเลยคับ
----------------------------------------

CTtae KuNg เริ่มจากพินอีนครับ ท่องพินอีน อ่านออก แล้วพออ่านคำศํพท์ก็เริ่มฝึกเขียนครับ ถ้าอยากเรียนได้ไวๆ ก็ต้องเรียนอะครับ