วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์โรคภัยตามวิถีสุขภาพทางเลือกแนวบุญนิยม ตอนที่ 1 บทนำ

ภัยอันน่าสะพรึงกลัวของการปล่อยให้โรคฝังตัว และมัีวแต่หลงแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจแก้ที่ต้นเหตุของปัญหาควบคู่ไปด้วย นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและโชคร้ายที่สุดของการมีชีวิต แล้วไม่รู้สาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บอันเป็นความทุกข์ทรมานของชีวิต ทำให้หลงสะสมต้นเหตุฝัีงไว้ในเนื้อเยื่อ ของร่างกายวันแล้ววันเล่า จนฝังลึกเข้าไปทุกวัน ๆ แล้วส่วนใหญ่ก็พยายามใช้วิธีแก้ที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว โดยไม่เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุควบคู่ไปด้วย


เวลาเจ็บป่วยก็มักจะแก้ปัญหาด้วยการกินยากดระงับประสาทไม่ให้รู้สึกทุกข์ทรมาน ซึ่งยาก็จะไปกดประสาทไม่ให้ปวด ได้ในขีดจำกัด เมื่อพิษมีประมาณหนึ่งเท่านั้น ถ้าพิษมากกว่านั้นหรือยาหมดฤทธิ์ก็จะเิกิดทุกข์ทรมามอีก หรือการพยายาม ที่จะใช้ยาขับเอาโรคภัยไข้เจ็บออกจากร่างกาย ในระยะแรกที่โรคสะสมไม่แน่น ไม่ลึกมาก ใช้ยาไม่แรงนักก็มักจะได้ผล เปรียบเสมือนสนิมพึ่งเกาะที่ผิวเหล็ก เราเอาผ้าเช็ดออกก็ได้ แต่เมื่อโรคฝังแน่นลึกลงไปทุกวัน ๆ ยาตัวเดิมเริ่มใช้ไม่ได้ผล ทำให้ต้องเปลี่ยนยาตัวใหม่ที่มีฤทธิ์กระแทกกระทุ้งพิษแรงมากขึ้น เปรียบเสมือนสนิทที่ฝังแน่น กินลึกลงไปถึงเนื้อเหล็ก ใช้ผ่าเช็ดสนิมเหล็กออกไม่ได้แล้ว ต้องใช้ค้อนทุบอย่างแรง จนเหล็กบุบบู้บี้แตกสลาย จึงจะเอาสนิมเหล็กออกมาได้


การใช้ยาที่มีฤทธิ์แรงกระทุ้งโรคก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีผลทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายบอบช้ำ บาดเจ็บ ผุพัง ทรุดโทรม มากยิ่งขึ้น ๆ ซึ่งมักจะแสดงผลออกมาเป็นอาการข้างเคียงของยาที่รุนแรงมากขึ้น ๆ ผู้ป่วยจะได้โรคใหม่ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ๆ ได้ยาใหม่เพิ่มขึ้นปริมาณยาก็มากขึ้น ๆ จนบางครั้งถึงขั้นช็อคตายจากการแพ้อย่างรุนแรงของฤทธิ์ยาก็มี หรือสุดท้ายรักษาอย่างไรก็ไม่หาย ต้องปล่อยให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานไปตามเวรตามกรรม เหตุการณ์เหล่านี้มีให้พบเห็นอยู่บ่อย ๆ และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อย ๆ แสดงถึงความล้มเหลวของระบบสุขภาพที่มุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว โดยไม่มุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือ การปรับพฤติกรรมสุขภาพควบคู่ไปด้วย
ผู้เขียนมีความเห็นว่า แม้การสร้างพฤติกรรมสุขภาพ จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าการรักษา แต่มันก็เป็นวิธีเดียวที่เราจะเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างยั่งยืน แต่ถ้ายังเป็นเช่นเดิมนี้อยู่ ก็ไม่มีวันที่ประชาชนจะมีความผาสุก ปลอดภัย หรือเบาบางจากความเจ็บป่วยทุกข์ทรมานไปได้ ซึ่งชีวิตก็จะวนเวียนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้ เหมือนการรบที่รอวันพ่ายแพ้แต่เพียงอย่างเดียว จะมีสักกี่คนที่คิดตั้งใจเข้าไปเรียนรู้และพากเพียร แก้ไขปัจจัยหรือพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุุ อันเป็นการรบที่นับวันสะสมชัยชนะอย่างยั่งยืน เพื่อจะได้ไม่ต้องวนเวียนทุกข์ทรมานกับโรคภัยไข้เจ็บเหมือนคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่รู้ หรือแม้รู้ แต่ก็ไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหาด้วยการพึ่งตนเองเป็นหลัก อาศัยผู้อื่นเป็นรอง
ผู้เขียนมีความเห็นว่า สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
(
เศรษฐกิจพอเพียง สู่สุขภาพพอเพียง) จะเป็นคำตอบหนึ่งของสุขภาพที่ดี
สุขภาพพึ่งตนแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีสุขภาพทางเลือกบุญนิยม
เน้นการใช้ธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นเพือปรับสมดุลร่างกาย
แทนการใช้สารเคมี หรือยาเคมี เพราะสารเคมีหรือยาเคมีเป็นสารหรือส่วนประกอบที่ไม่ใช่ธรรมชาติ เหมือนอะไหล่ปลอม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะประกอบเข้าเป็นรูปร่างเดิมไม่สนิท และไม่สามารถทดแทนคุณสมบัติของเนื้อเื่ยื่อปกติเดิมได้ จึงมักระคายเคืองและมีผลข้างเึคียงที่ไม่ดีต่อร่างกายตามมาอยู่เสมอ ยิ่งไม่มุ่งแก้ที่ต้นเหตุด้วยแล้ว ร่างกายก็ยิ่งจะบอบช้ำ ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว มีโรคแทรกซ้อนและทุกข์ทรมาน

มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เริ่มเห็นโทษภัยของการกินยา หรือการรักษาโรคที่ปลายเหตุแต่เ่พียงอย่างเดียว โดยไม่มุ่งแก้ไขที่ต้นเหตุ ผู้ป่วยเหล่านี้มัีกจะถามผู้เขียนเสมอว่า จะต้องหยุดยาหรือวิธีการรักษาที่เขาใช้อยู่ ณ ปัจจุบันเลยไหม


สำหรับคำถามดังกล่าวนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าการักษาที่ใช้อยู่ปัจจุบันนั้นยังมีผลในการบำบัด บรรเทาความทุกขฺ์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บได้ดีอยู่ โดยไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย หรือไม่ทำให้ต้องทุกข์ทรมานมาก ผู้ป่วยก็ควรจะใช้การรักษาที่เคยใช้อยู่นั้นไปพร้อม ๆ กับการฝึกปรับความสมดุล หรือการฝึกสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องจนรู้สึกว่าสภาพร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และตนเองก็มีทักษะในการปรับสมดุลสุขภาพ หรือทักษะการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้่อง จึงค่อย ๆ ลด หรืองดการรักษาที่เคยใช้อยู่ ที่มุ่งแต่การแก้ที่ปลายเหตุนั้นเสีย
แต่เมื่อลดหรืองดวิธีการดังกล่าวแล้ว ก็ต้องตรวจสอบดูว่า เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งตัวชี้วัดก็คือ เรารู้สึกเบากาย 
มีกำลัง ความเจ็บป่วยในร่างกายที่เคยมีอยู่ลดน้อยลง หรือไม่กำเริบมากขึ้น ถ้ามีสภาพดังกล่าว ให้ทำการปรับสมดุลสุขภาพนั้นต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเรา แต่้ถ้าไม่ได้สภาพดังกล่าว อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาที่เคยใช้อยู่เดิมแล้วได้ผลควบคู่ไปก่อน จนกว่าเราจะค้นหาวิธีปรับสมดุลสุขภาพของตัวเองได้ดีกว่าเดิม จึงค่อยปรับเปลี่ยน ลดหรืองดการรักษาที่เคยใช้อยู่เดิม แต่ถ้าร่างกายมีสภาพเท่าเทียมกันระหว่างการรักษาแบบเดิมกับการลดหรืองดการรักษา ผู้เขียนเลือกการลดหรืองดการรักษาที่เคยใช้อยู่เดิมดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องรับผลข้างเึคียงจากการรักษา ไม่ต้องเสียเงินทองหรือเสียเวลากับการรักษาแบบเดิมนั้น
ผู้เขียนไม่ได้ปฎิเสธหรือต่อต้านวิธีการดูแลรักษาในระบบสุขภาพแผนปัจจุบันไปเสียทั้งหมด บางอย่างผู้เขียนก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ ถ้าผลออกมาทำให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นหรือมีชีวิตอยู่รอดได้


ตัวอย่างข้อดีของระบบสุขภาำพแผนปัจจุบัน เช่นการตรวจวัดวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่แสดงผลได้ชัดเจน 
การให้เลือดหรือสารบางอย่าง ในภาวะฉุกเฉินอันมีข้อบ่งชี้ว่า ถ้าไม่ทำจะเป็นอันตรายถึงชีวิต การให้ยาระงับปวดในกรณีที่ผู้ป่วยทรมานมากเกิน การผ่าตัดฉุกเฉินบางอย่างที่มีข้อบ่งชี้ว่า ถ้าไม่รีบทำ ผู้้ป่วยจะเป็นอันตรายถึงชีวิตหรืออวัยวะบางอย่างที่บาดเจ็บจะเสียหาย ถ้าไม่รีบผ่าตัด แผลที่เหมาะสมกับการเย็บ หรือวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดชีวิตได้ เป็นต้น
ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เขียนก็ยังมีความเห็นว่า การดูแลรักษาในระบบสุขภาพแผนปัจจุบัน ควรใช้ควบคู่กับการปรับสมดุลสุขภาพ หรือ การแก้ไขที่ต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บป่วยนั้นร่วมด้วย ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีหลายส่วนที่เป็นจุดอ่อนที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด เป็นความล้มเหลวที่ชัดที่สุดของการรักษาสุขภาพแผนปัจจุบันก็คือ การแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังต่าง ๆ เชน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ภูมิแพ้ เก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดกล้ามเนื้อเรื้องรัง โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ความเป็นจริงโรคเรื้อรังดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมก็ต้องแก้ไขที่พฤติกรรม ไม่ใช่แก้ไขด้วยการกินยา หรือใช้วิธีการต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้มุ่งตรงไปแก้ที่ต้นเหตุ เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ไม่รู้จักจบสิ้น ประสบความสำเร็จน้อย สิ้นเปลืองทรัพยากรมาก เสียเวลา สิ้นเปลืองแรงงานและแก้ปัญหาได้ยากลำบากมากขึ้นทุกวัน ๆ เพราะต้นเหตุของปัญหาได้พอกทวีสะสมมากขึ้น จากพฤติกรรมก่อโรคที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้ลดลง ซ้ำร้ายกลับทวีมากยิ่งขึ้น ๆ
ปัจจุบันนับเป็นนิมิตหมายที่ดีอย่างยิ่งต่อสุขภาพของประชาชน ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายและรณรงค์ให้เน้นการสร้างสุขภาพ มากกว่าการซ่อมสุขภาพ (สร้างนำซ่อม)
ผู้ที่รู้สัจจะแล้วจะพบว่า ความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แ่ต่ความทรมานอันไม่รู้จบ
อันเนื่องมาจากการไม่รู้ต้นเหตุแห่งความทรมานนั้น น่ากลัวยิ่งกว่า และน่ากลัวที่สุดในโลก
ระบบการดูแลสุขภาพที่ดี มีประสิทธิภาพสูงและสมบูรณ์แบบที่สุด ก็คือ ระบบที่สามารถผสมผสานการดูแลสุขภาพในทุก ๆ แผนเข้าด้วยกัน ด้วยการเอาจุดดี จุดเด่น จุดสำคัญของแต่ละแผนมารวมกัน โดยอาศัยคุณธรรมเป็นหลักนำ ซึ่งก็คือ ยึดความเต็มใจ ความสมัครใจ ความเป็นประโยชน์ ความประหยัด ความปลอดภัยสภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น และการพึ่งตนเองได้ของผู้ป่วยเป็นหลัก
ถึงกระนั้นก็ตามระบบสุขภาพทุก ๆ แผน ก็ย่อมมีจุดด้อยของตัวเองเป็นธรรมดา ดังนัน การนำเอาจุดี จุดเด่นของระบบสุขภาพทุก ๆ แผนที่พิสูจน์ได้โดยหลักวิทยาศาสตร์มาผสมผสาน ประยุกต์บูรณาการเข้ากับวิถีชีวิต ให้เป็นประโยชน์ตอสุขภาพของตนเองและประชาชน โดยเน้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังตัวชี้วัดตามพระไตรปิฏก เล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร"
ซึ่งเป็นชี้วัดของการมีสุขภาพที่ดี 5 ข้อ ดังนี้
1. มีความเจ็บป่วยน้อย
2.
มีความลำบากกายน้อย
3.
มีความเบากาย
4.
มีกำลัง
5.
เป็นอยู่ผาสุก ( มีความสุขทั้งด้านร่างกายยและจิตใจ )
(วิธีการใดก็ตามที่ทำให้เกิดผล 5 ข้อนี้ ถือว่าใช้ได้) พร้อมทั้งประหยัดและพึ่งตนเองได้มากที่สุด นั้นคือ
สุดยอดของระบบสุขภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ผู้เขียนได้ทดลองพิสูจน์มาแล้ว พบว่า สามารถพึ่งตนเองได้จริง จึงใครขอเชิญชวนท่านลองพิสูจน์ดูบ้าง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการใดในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ ก็ให้เราตรวจสอบประเมินผล ถ้าเป็นผลดีต่อสุขภาพของเรา 
จะเกิดผล 3 ข้อหลัก ๆ
1. ความไม่สบายที่มีอยู่ลดน้อยลงหรือไม่มากไปกว่าเดิม
2.
เบากาย
3.
มีกำลัง
ซึ่งตรงกับหลักสุขภาพทางเลือก คือ พลังชีวิต หรือถ้าจะให้จำง่ายก็คือเกิดสภาพ สดชื่น กำลังเต็ม เบากาย สบายตัว สบายใจ
หรือสบาย เบากาย มีกำลัง แล้วผลอีก 2 ข้อ ที่จะตามมาก็คือ ความเจ็บป่วยหรือโรคภัยไข้เจ็บจะลดน้อยลงและความเป็นอยู่จะผาสุกขึ้น
ผู้เขียนเห็นว่าเป็นหลักการที่ทำให้แต่ละคนเป็นหมอดูแลตัวเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดแห่งการพึ่งตนเอง ผู้เขียนจึงใช้หลักการดังกล่าวในการประิิเมินผล การดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพของทุกระบบทุกแผน เพราะเป็นตัวชี้วัดที่เป็นสภาพของคุณภาพ สมรรถภาพ ความผาสุกของร่างกายและจิตใจ ซึ่งถ้าได้แล้วก็ไม่ก่อให้เิกิดผลเสียหายใด ๆ มีแต่ได้กำไรหรือ เป็นประโยชน์อย่างเดียว ที่สำคัญก็คือ ประเิมินผลง่าย มีประสิทธิภาพและำทำได้ด้วยตัวเราเอง
คราวนี้ มาลองศึกษาวิเคราะห์ กลไกการเกิดของโรค ตามหลักกาารสุขภาพทางเลือกหรือธรรมชาติบำบัดแนวบุญนิยมดูบ้างนะครับ ซึ่งท่านสามารถทีจะิพิสูจน์ความจริงได้ด้วยการเติมต้นเหตุที่ทำให้เกิดกลไกก่อโรค โรคก็จะมีอาการหนักยิ่งขึ้น แต่ถ้าลดต้นเหตุของกลไกการก่อโรคหรือทำตรงกันข้าม อาการของโรคก็จะทุเลาเบาบางลงหรือหายไป ตามความจริงที่เราทำความสมดุลได้

ตามหลักการสุขภาพทางเลือกหรือธรรมชาติบำบัด พบว่า ความไม่สมดุลทั้งภาวะร้อนเกินและเย็นเกิน ก่อให้เกิดความเสื่อม ความไม่สบายเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ทุกโรค ทุกอวัยวะ อวัยวะใดที่อ่อนแอ มีแผลหรือมีการบาดเจ็บอยู่เดิมก็จะถูกทำร้ายก่อน เพียงแต่ว่า ในยุดนี้ ความไม่สมดุล มักจะโต่งไปทางร้อนเกินเสียเป็นส่วนใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น