วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิถีอาเซียนและปัญหากฎบัตร ตอนที่ 4 : กฎบัตรอาเซียน ASEAN CHARTER


  • เป็น “ธรรมนูญ” ของอาเซียน



  • ทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นเอกภาพ มีกรอบความคิด และการดำเนินการร่วมกันในด้านต่างๆ ที่ชัดเจน

- ประชาคมด้านการเมืองและความมั่นคง
- ประชาคมด้านเศรษฐกิจ
- ประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม


อุปสรรคและปัญหาสำคัญของกฎบัตรอาเซียน

1) กฎบัตรอาเซียนไม่มีผลบังคับให้ประเทศสมาชิกให้ต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก


2) ความแตกต่างในเรื่องของระบบการเมืองการปกครองในประเทศสมาชิก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างมากต่อการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง 

3) การยึดหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาเวสฟาเลีย ว่าด้วยการห้ามเข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ 
แต่อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์และเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน  สหประชาชาติจำต้องเข้าแทรกแซงในประเทศสมาชิกที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) การกำจัดชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) รวมทั้งการที่รัฐมีนโยบายและการดำเนินการเพื่อกำจัดประชาชนด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นต้น 
นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากมุมหนึ่งของโลก แต่ส่งผลกระทบร้ายแรงและอย่างรวดเร็วต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางเช่นกัน

4)กฎบัตรอาเซียนไม่มีมาตราใดว่าด้วยการระงับ การขับไล่ และการถอดถอนประเทศสมาชิกที่มีพฤติกรรมและการดำเนินการที่จะมีผลทำให้อาเซียนได้รับความเสื่อมเสียในด้านภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือ (ดังเช่นกรณีประเทศพม่า ซึ่งได้มีพฤติกรรมและการดำเนินการต่างๆ ที่ได้นำความเสื่อมเสียมาสู่อาเซียน)
       
5)อาเซียนยังไม่มีองค์กรดูแลด้านการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ของประชาชาติอาเซียนอย่างแน่นอน แม้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะระบุข้อความว่าอาเซียนมีความปรารถนาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเกิดขึ้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาแน่ชัดแต่อย่างใด


6) การตัดสินใจด้านนโยบายในเบื้องต้นของอาเซียนยังคงพึ่งหลักฉันทามติ 
ซึ่งหมายความว่าหากหนึ่งในสิบประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยก็เท่ากับไม่เกิดฉันทามติ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการตามที่สมาชิกเสียงข้างมากประสงค์ได้
ดังนั้น ตราบใดที่อาเซียนยังไม่ยอมนำระบบการลงคะแนนออกเสียงโดยยึดเสียงข้างมากเป็นปัจจัยชี้ขาดก็ยากที่อาเซียนจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและทันต่อเหตุการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น